วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การ์ดจอ (Graphic Card)


graphic
การ์ดจอ (Video Card) หรือชื่อเรียก การ์ดแสดงผล  หรือ กราฟฟิคการ์ด (Graphic card) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ เพื่อแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลทางพอร์ตเชื่อมต่อเพื่อแสดง เป็นภาพ  เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมา แสดงบนจอภาพ  จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้  การ์ดจอจะมีชิพประมวลผล และ Ram อยู่ภายในอุปกรณ์ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์ดีขึ้น เนื่องจาก การ์ดจอจะแบ่งเบาภาระจาก CPU ที่เป็นหน่วยประมวลผลส่วนกลางโดยลดภาระการประมวลผลภาพ ที่ต้องใช้การคำนวณกราฟฟิคที่สูงมาก ภายใต้ภาพที่สวยงามนั้น   CPU จะส่งค่า ต่างๆที่ใช้สร้างภาพขึ้นมา อย่างเช่น Texture (พื้นผิว) Polygon (จุดเชิง3D)  Shader (ตำแหน่งและทิศทางของแสง)  เป็นต้น เพื่อให้การ์ดจอทำการประมวลผลแล้วส่งต่อให้จอภาพแสดงภาพเพื่อแสดงผลต่อไป

GIGABYTE-AMD Radeon HD 7990 GPU
GIGABYTE-AMD Radeon HD 7990 GPU
GIGABYTE-NVIDIA GeForce GTX 680 GPU
GIGABYTE-NVIDIA GeForce GTX 680 GPU


  • PCI (Peripheral Component Interconnect) และ PCI-X (PCI Extended)
บัส PCI เป็นบัสความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์ความเร็วรองลงมา เช่น การ์ดเสียง, การ์ดโมเด็ม, การ์ดแลน เป็นต้น มาตรฐานของบัส PCI ปัจจุบันจะมีความกว้างบัส 32 บิต และ 64 บิต ซึ่งบัสแบบ 64 บิตนี้จะเรียกว่า PCI-X หน่วยแสดงผลกราฟฟิกที่มีการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน PCI จะมีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 133 MB /sec  ความสัมพันธ์ของการแสดงผลกราฟฟิกที่ความละเอียดต่างๆ จะต้องอาศัยความสามารถของ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการทำงาน ตามที่ต้องการ สามารถตรวจสอบได้จาก คำบรรยายคุณลักษณะ ตามที่ผู้ผลิตกำหนดในคู่มือ และความสัมพันธ์ของการแสดงผลกราฟฟิก จะเป็นไปตามค่าความสัมพันธ์ของ ความละเอียดของจุดภาพที่ต้องการ (จำนวน Pixel), จำนวนของสีที่ต้องการแสดงผล (16 สี 4 บิท, 256 สี 8 บิท, High – Color 65,535 สี 16 บิฟท และ True – Color 16.7 ล้านสี 24 บิท) และจำนวนของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล

  • AGP (Accelerated Graphic Port)
AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อจากบัส PCI โดยทำงานที่ความถี่ 66 MHz บัส AGP นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลมากที่สุด และจำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP อยู่เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานของระบบบัสอย่าง PCI Express จะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน

agp
  • PCI Express (Peripheral Component Interconnect Express)
PCI Express นั้นเป็นบัสที่ทำงานแบบ Serial และสามารถเลือกใช้ความเร็วมากน้อยตามต้องการได้ โดยแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณ (channel) หรือ lane ของ PCI ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลแต่ละทิศทาง 250 MB/sec และรวมสองทาง (Full-Duplex) สูงถึง 500 MB/sec ซึ่งขั้นต่ำสุดเรียกว่า PCI Express x1 ถูกออกแบบให้มาแทนที่ PCI Bus แบบเดิม ประกอบด้วย 1 lane สล็อตก็จะสั้นหน่อย ส่วนขั้นถัดไปจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2, 4, 8 และ 16 เท่าตามลำดับ ก็จะประกอบด้วย 2, 4, 8 และ 16 lane ที่รับส่งข้อมูลพร้อมกัน สล็อตก็จะยาวขึ้น (มีขั้วต่อมากขึ้น) เรียกว่าเป็น PCI Express x2, x4, x8 และสูงสุดคือ PCI Express x16 ที่เร็วถึง 8 GB/sec ซึ่งจะมาแทนที่สล็อตแบบ AGP 8x ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ด้วยข้อจำกัดที่มีมานานของเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะสามารถมีสล็อต AGP ได้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานใหม่อย่าง PCI Express x16 ที่จะมาแทนที่สล็อต AGP แบบเดิมนั้นจะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน PCI Express ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่างกันสามารถใช้งานด้วยกันได้ เนื่องจากการออกแบบที่ได้ถูกพิจารณาตั้งแต่แรกของ PCI Express สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เช่น ถ้ามี Card PCI Express ชนิด x8 ก็สามารถใช้ได้กับ Slot ที่มีความเร็วที่สูงกว่า คือ x16 แต่ยังคงวิ่งอยู่ที่ 4 เลนเหมือนเดิม PCI Express พร้อมที่จะรองรับ Driver ของ PCI ที่ใช้ Software และ OS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังประหยัดพลังงานโดย PCI จะใช้แรงดันที่ 5 V แต่สำหรับ PCI Express ใช้เพียง 3.3 V ยังรวมการทำงานแบบ Hot-Pluggable (เสียบ Card โดยไม่ต้อง ปิดเครื่อง) ส่วนการทำงานในด้าน Graphic ระดับ High end นั้น PCI Express ได้ถูกออกแบบให้รองรับการใช้พลังงานที่สูงถึง 75 W ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิด x1 จะใช้พลังงานตามการออกแบบอยู่ที่ 25W ในความเป็นจริงใช้เพียง 10W และที่เกินนั้นรองรับ PCI Express x8 slot ขณะที่ AGP เองรองรับได้ 25 W ถึง 42 W เท่านั้น ในส่วนของอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงที่ต้องการต่อออกจาก PCI Express Slot นั้นจะใช้ Cable ได้ยาวถึง 5 เมตร

PCI Express ได้ออกมา 2 Version คือ X1 ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการ Bandwidth สูง หรือเพียง 400 MB/s และ X16 ที่ใช้กับ Graphic Card ที่ 4 GB/s ระบบ Bus ยังคงเป็นแบบอนุกรมซึ่งสามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน คล้าย Technology Hypertransport ของ AMD โดยจะส่งข้อมูลอยู่ในรูแบบของ Packet เป็นแบบเดียวกับการทำงานของ OSI model ใน Layer 3 (network Layer) การส่งข้อมูลของ PCI Express จะส่งไปตาม Line หรือ Lane ซึ่งต่อตรงกับอุปกรณ์ที่กำลังติดต่อด้วย และ ค่าที่ระบุว่ามีกี่ Line หรือ Lane คือ ตัวเลขหลัง “X” โดย x1 = 1 Line, x4 = 4 Line, x8 = 8 Line และ x16 = 1 6 Line สำหรับความเร็วนั้นเนื่องจาก PCI Express จะส่งข้อมูลไปกลับได้พร้อมกัน จึงต้องคิดเป็น 2 เท่า ฉะนั้น เมื่อความเร็วถูกระบุที่ 1 GB/s สำหรับ 4x ความเร็วรวมจะอยู่ที่ 2 GB/s

มาตรฐาน PCI Express
มาตรฐาน PCI-E x1 PCI-E x4 PCI-E x8 PCI-E x16
         
PCI Express 1.1a 500 MB/s 2GB/s 4GB/s 8GB/s
PCI Express 2.0 1GB/s 4GB/s 8GB/s 16GB/s
PCI Express 3.0 2GB/s 8GB/s 16GB/s 32GB/s

mother board
หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล
ประสิทธิภาพโดนรวมส่วนหนึ่งของการ์ดจอนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล(แรม)บนการ์ดด้วย เพราะชิปกราฟฟิกต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการประมวลผล ดังงั้น การ์ดจอที่มีแรมเยอะและทำงานได้เร็วจะส่งผลให้การ์ดจอเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ชิปแรม
คุณสมบัติ
DDR2
ทำงานเหมือนแรมคอมพิวเตอร์
GDDR2
ออกมแบบมาสำหรับการ์ดจอ
GDDR3
ออกมแบบมาสำหรับการ์ดจอ รองรับความเร็วที่ 1GHz ขึ้นไป
GDDR4
ออกมแบบมาสำหรับการ์ดจอ รองรับความเร็วที่ 1.5 GHzขึ้นไป
GDDR5
ออกมแบบมาสำหรับการ์ดจอ รองรับความเร็วที่ 3 GHzขึ้นไป

รูปแบบหัวต่อของการ์ดแสดงผล
โดยทั่วไปแล้วการ์ดจอมักติดตั้งหัวต่อ(Connector)แบบ D-Sub สีน้ำเงิน 15 เข็ม ยังมีหัวต่อแบบ DVI ที่ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่มแน่นอนว่ามีคุณภาพการแสดงผลที่ดีกว่าเดิม ปัจจุบันวีดีโอความละเอียดสูงได้รับความนิยม หัวต่อแบบ HDMI จึงได้กลายมาเป็นมาตราฐานของการ์ดจอใหม่ รวมไปถึงมาตรฐานหัวต่อ Display Port ที่รองรับความละเอียดได้ถึง 3560×1600 พิกเซล

ภาพหัวต่อ
ชื่อ
การใช้งาน
 images
VGA
เชื่อมต่อจอภาพทั่วไป ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก
 dvi-i sl
DVI-I(Single Link)
เชื่อมต่อจอภาพทั่วไป สามารถใช่ร่วมกับหัวแปลง DVI >VGA ได้ รองรับความละเอียด 2400×1920 พิกเซล
 dvi-i dl
DVI-I(Dual Link)
เชื่อมต่อจอภาพขนาดใหญ่ สามารถใช่ร่วมกับหัวแปลง DVI >VGA ได้ รองรับความละเอียด 3840×2400 พิกเซล
 dvi-d sl
DVI-D(Single Link)
เชื่อมต่อจอภาพ LCD แบบดิจิตอลที่มีความละเอียดสูงสุด 2400×1920 พิกเซล
 dvi-d dl
DVI-D(Dual Link)
เชื่อมต่อจอภาพขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูงสุด 3840×2400 พิกเซล
 dvi-a
DVI-A
ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก สามารถใช้ร่วมกับหัวแปลง DVI>VGA ได้
 svideo4p_web
S-Video
เชื่อมต่อกับทีวีหรืออุปกรณ์ A/V ทั่วไป
 hdmi-f
HDMI
เชื่อมต่อจอภาพแบบดิจิตอล รองรับการเข้ารหัสHDCP สำหรับวีดีโอความละเอียด HD ที่ 1920×1080 พิกเซล โดย HDMI 1.3 ขึ้นไปจะรองรับความละเอียดมากกว่า 2560×1600 พิกเซล
 images (1)
Display Port
เชื่อมต่อจอภาพแบบดิจิตอล รองรับความละเอียดได้สูงสุด 2560×1600 พิกเซล ล่าล่าสุดถึง 3840×2160 พิกเซล พร้อมรองรับการเข้ารหัส HDCP

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น