วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

แนะนำตัวผู้ จัดทำ

 

จัดทำโดย
นาย ธนศักดิ์ แย้มบุรี  ปวช3/7 เลขที่14
แผนกช่าง อิเล็กทรอนิกส์ <เทคนิคคอมพิวเตอร์>

เสนอ

อ. เอกรินทร์  สินทะเกิด

วิชา งานบริการคอมพิวเตอร์

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร

แก้ไขปัญหาคอมเปิดไม่ติด



 


คอมเปิดไม่ติด ปัญหาง่ายๆที่ ทุกคนสามารถ ตรวจเช็คหรือซ่อมได้เอง หลายๆท่านอาจเคยพบเจอกับปัญหาของเจ้าคอมพิวเตอร์ตัวโปรด ที่อยู่ดีๆ กับไม่ทำงานซะงั้น เปิดไม่ติดซะงัน แล้วเพื่อนๆทำยังไรเมื่อ เปิดคอมพิวเตอร์ไม่ติด หลายๆท่าน อาจจะยกคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไปให้ช่างคอมพิวเตอร์ ตรวจเช็คและหลายๆครั้งที่ตรวจเช็คกับเจอค่าใช้จ่ายที่แพงเกินจริง แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า การตรวจเช็คและซ่อมเองนั้นท่านก็สามารถเช็คและซ่อมเบื้องต้นได้ง่ายๆ อาการต่าง ๆที่พบใน
คอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานนานๆ นั้นคงนี้ไม่พ้นกับอาการ เปิดคอมแล้ว เครื่องทำงานปรกติ แต่กลับพบว่า ไม่สามารถบูตเข้าวินโดว์ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์กับนิ่งไปเฉยๆ ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย เอาละทีนี้เราลองมาเริ่มต้นทำการตรวจสอบกันเลย กับปัญหาแรกที่ทุกท่านเจอกันบ่อยๆ นั้นคือ

1. อาการ เปิดคอมพิวเตอร์แล้วคอมติดปรกติ แต่หน้าจอไม่มีอะไรขึ้นมาเลย

ปัญหานี้เกิดจากหล่ายๆ องค์ประกอบหลายๆอย่าง แต่ที่พบเห็นทั่วไปที่เจอกันบ่อยๆ นั้น เกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมานาน ปัญหาที่พบมากคือเจ้าฝุ่นตัวเล็กๆ ของเรานี่แหละที่เข้าไปจับตัวกันที่ บริเวณทองแดง ทำให้อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์บางตัวไม่ทำงาน แต่พอพูดถึงภายในเครื่องหลายๆท่านอาจถอดใจกลับไปใช้บริการช่างซ่อม คอมพิวเตอร์ดีกว่า เอาละ บทความนี้ทีมงานจะแนะนำวิธีการ เปิดฝาเครื่องและทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานกัน นะครับ
เริ่มต้นกับการเปิดเครื่องแล้วเช็คสิว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดปรกติหรือไม่ โดยเช็คพัดลมด้านหลัง พาวเวอร์ซัพพายหรือระบบจ่ายไฟ ของเจ้าตัวคอมพิวเตอร์หากติดแสดงว่าไฟเข้ามายังคอมพิวเตอร์ ปรกติดี (แต่หากไม่ติดลองเช็คไปที่ปลั๊กไฟ ครับว่าเสียบแน่นหรือไม่หากแน่นแล้ว ยังไม่ติดก็แสดงว่า เจ้าพาวเวอร์ซัพพายนั้นมีปัญหาแน่นอน)
แต่ถ้ามันมีไฟเข้าปรกตินั้น ขั้นต่อไป ทำการดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ว่าท่านได้ทำการ ต่อสายถูกหรือไม่ หากทำการต่อถูกแล้ว ไฟหน้าจอติดปรกติแต่ภาพหน้าจอกลับไม่ขึ้น ลองตรวจเช็คไฟที่ คียบอร์ดดูว่าติดหรือไม่ หากไม่ติดแสดงว่าเป็นที่ คอมพิวเตอร์แล้วแหละ ที่นี้เราก็ต้องทำการเปิดฝาคอมพิวเตอร์ตัวโปรดของเราเพื่อจะชำแหละมันและนะ โดยสาเหตุหลักๆที่พบบ่อยที่สุดคือ Ram การ์ดจอ หลวมหรือ ฝุ่น เกาะบางคนบอกรักษาคอมดีมากแต่เปิดมา เจอฝุ่นเต็มเลย ไม่ต้องแปลกใจ เพราะว่า เจ้าคอมพิวเตอร์นั้น พวกพัดลม มันจะทำการ ดูดฝุ่นเข้ามาในคอมด้วย เพราะมันต้องการอากาศเพื่อระบายความร้อนออกไป



                                                              ภาพตัวอย่างRam

เมื่อเปิดฝาคอมพิวเตอร์แล้ว (ดึงปลั๊กไฟออกก่อนนะไม่งันคอมพิวเตอร์พังแน่ๆ) ให้ท่านถอดแรมออกมาแล้ว ใช้ยางลบดินสอ ลบ บริเวณ ทองแดงเล็กๆ แล้วใช้แปลงหรือที่เป่าฝุ่น เป่าบริเวณที่เสียบแรม ให้สะอาด หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้เสียบแรมกลับไปที่เดิมจากนั้นทำการ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้งเครื่องก็จะสามารถใช้งานได้ปรกติแล้ว แต่หากไม่ติดละ มันก็ยังเหลือ อีก 1 อย่างที่ต้องเช็คคือ การ์ดจอ อาการและสาเหตุนั้นก็เป็นเหมือนกับแรมแหละครับ วิธีตรวจและซ่อมเหมือนกัน คือนำมาทำความสะอาดโดยใช้ยางลบ และเป่าฝุ่นบริเวณที่เสียบการ์ดจอหรือที่เรียกว่า ซ๊อกเกจ จากนั้นก็ใส่กลับที่เดิมโดยให้แน่นที่สุด



การปรับหัวอ่าน CD-Rom



การปรับหัวอ่าน CD-Rom

วิธีการปรับหัวอ่าน CD-Rom บางรุ่นที่อ่านแผ่นบางแผ่นไม่ได้ โดยวิธีปรับหัว VR ใน Drive CD-Rom หรือที่เรียกกันว่า Variable Resist

สำหรับผู้ที่มี CD-Rom แต่ว่า Drive ของท่านไม่ สามารถอ่านแผ่นทองหรือแผ่น CD-R ได้ หรือว่าอ่านได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็แล้วแต่ครับ แต่กรณีที่ผมจะพูดถึงนี้ไม่รวมถึงอาการ ของ CD-Rom ที่มอเตอร์เสียนะครับ ผมจะทำเป็นขั้นเป็นตอนละกัน จะได้ดูกันง่ายๆ 


ก่อนอื่นก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมครับ ดูในรูปด้านบน เลยครับ อันดับแรกก็ CD-Rom ที่เริ่มใช้ไม่ได้อย่างใจ ทางที่ดีขอให้เป็น CD-Rom ที่ หมดประกันแล้วจะเยี่ยม เลยครับ ไม่ต้องกลัวเอาไปเคลมไม่ได้เพราะหมดอายุรับประกัน แล้ว คุณคงไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้วล่ะ เมื่อเตรียม Drive เรียบ ร้อยแล้วก็อย่าลืมไขควงสี่แฉกขนาดไม่ต้องใหญ่มากก็ได้ครับ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือไขควงสองแฉกขนาดเล็ก เล็กสุดยิ่งดีครับ อะไรจะได้ง่ายเข้า เอาล่ะเมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วก็มาแงะ เจ้า CD-Rom เจ้าปัญหากันได้เลยครับ

สำหรับในรูปผมใช้ CD-Rom ของ Creative 8X ตัวเก่าของผม ที่มีอาการอย่างว่าครับ อ่านแผ่นทองไม่ได้ ก็เลยถึงคราว..

  



ก่อนอื่นให้ใช้ไขควงสี่แฉกจัดการทะลวง void ด้านหลัง ของ Drive CD-Rom ซะ ดูในรูปด้านบนละกันครับ อาจจะยับเยินนิดหน่อย แต่ไม่เป็นไรครับ จัดการเอาน็อต สองตัวนี้ออกให้ได้ก่อนนะครับ อะไรๆจะได้ง่ายขึ้น 




เมื่อ คุณสามารถจัดการกับน็อตเจ้าปัญหาสองตัวด้านหลังได้ แล้ว(ของผมนี่ขันไว้แน่นสุดๆเลยครับ ต้องออกแรงกันพอสมควร) ก็ให้จัดการถอดหน้ากาก CD-Rom ที่เป็นพลาสติกออก อันนี้ไม่ ต้องใช้ไขควงครับ เพราะเขาแค่มีตำแหน่งที่ยึดกันไว้เฉยๆ แล้วก็อย่าลืม ถอดหน้ากากที่ติดกับถาด CD-Rom ด้วยนะครับ ดูในภาพด้านบน เลยครับ จากนั้นก็ค่อยถอดฝาครอบ CD-Rom ออกมาให้หมดครับ ขั้นตอนนี้ของผมไม่ต้องพึ่งไขควงเลย ถ้าเสร็จแล้วก็ไปตามขั้นตอนต่อไป ได้เลยครับ 



  
เอาล่ะครับ ทีนี้มันก็จะโป๊อย่างที่เห็นในภาพด้านบน ให้จับตรงบริเวณ ตัวยึดแผ่น CD ง้าง ขึ้นแบบในรูปนะครับ จากนี้ให้เตรียมไขควง สองแฉกเบอร์เล็กๆไว้ในมือได้แล้วครับ เมื่อง้างขึ้นแล้วก็ให้หาตำแหน่ง ของเลนซ์ที่เอาไว้อ่าน CD ให้ดีนะครับ 



เมื่อเจอตำแหน่งของหัวอ่าน CD แล้ว ให้ตรวจหาชิ้นส่วนที่เป็นโลหะสี ออกทองเหลือง รูปร่างลักษณะจะเป็นวงรีเล็ก ดูในรูปด้านบนละกันครับ ตรง ตำแหน่งที่ผมเอาไขควงชี้ไว้ให้ดูนั่นแหล่ะครับ สำหรับตำแหน่งที่นอนนั้น ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ว่า CD-Rom ทุกยี่ห้อจะวางตำแหน่ง VR ไว้ ตำแหน่งเดียวกันรึปล่าว เท่าที่ผมเคยแงะดูนอกจากของ Creative แล้ว ผมเคยดูของ LGs บ้างเหมือนกับ พบว่าวางตำแหน่งหัวปรับ VR ไว้คนละ ตำแหน่งกัน ยังไงก็คงต้องหาดีๆหน่อยนะครับ

ทีนี้เมื่อทุกท่านหาหัวปรับ VR เจอแล้วก็ให้จัดการเอาไขควงอันจิ๋วของเรา จัดการหมุนหัวปรับ VR ไปตามเข็มนาฬิกาประกาณ 20-25 องศาครับ ไม่ต้องหมุนหักโหมนะครับ นิดเดียวพอ

รูปอาจจะมองไม่ค่อยชัดนะครับ เพราะไอ้เจ้า VR นี้มันเล็กจิ๋วจริงๆ มุมกล้องก็เลยค่อนข้างจำกัดครับ เอาเป็นว่าดูไว้อ้างอิงตำแหน่งหรือ รูปร่างของหัวปรับ VR กับ Drive ของท่านก็ได้ครับ 




เมื่อ หมุนเรียบร้อยแล้วอย่าเพิงประกอบกลับเข้าไปนะครับ ให้ลองใส่แผ่น ทองหรือแผ่นอะไรก็ได้มี่เมื่อก่อนมันไม่สามารถอ่านได้ จากนั้นเสียบกลับ เข้าไปทั้งโป๊ๆอย่างนั้นก่อน เพื่อความแน่ใจ ถ้าเกิดว่ายังไม่สามารถอ่านได้อีก ก็ให้เอาออกมาหมุนเพิ่มประมาณ 3-5 องศา จากนั้นลองดูอีกครั้งครับ
    




ถ้าอ่านได้ก็แสดงว่าสำเร็จแล้ว คุณอาจจะได้ CD-Rom ที่คุณคิดว่า มันจากไปตลอดกาลกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง อย่างน้อยก็ใส่ไว้ฟังเพลง ล่ะครับ ไม่รู้ว่าจเปลืองไฟรึปล่าวนะ แต่เจ้า CD-Rom ของผมทำแล้ว มันก็ OK ครับ แม้ว่าจะสามารถอ่านแผ่นทองได้ประมาณ 70% แต่ก็ ดีกว่าสมัยก่อนที่จะเอามาปรับหัว VR มากครับ เพราะก่อนหน้านั้นมัน ไม่สามารถอ่านแผ่นทองได้เลย แต่เท่าที่ผมสังเกตุดู Drive CD-Rom ที่เอามาปรับหัว VR นั้นจะใช้เวลา seek แผ่นนานขึ้นกว่าก่อนมากพอ สมควรเลยล่ะครับ

ถ้าเกิดทำตามขั้นตอนที่บอกมาแล้วยังไม่ได้ผลก็คงต้องทำใจล่ะครับ เพราะปัจจัยที่ทำให้ CD-Rom เสียมันก็มีหลายสาเหตุ ที่จริงผมเองก็ ไม่ค่อยจะรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีซ่อมมากนัก เพราะผมเองก็ไม่ใช่ช่างซะด้วย ยังไง ถ้า Drive ยัง อยู่ในประกันก็อย่าเอามาเสี่ยงเลยครับ แนะนำว่าให้ส่งร้าน เคลมดีที่สุด ปลอดภัยกว่าครับ เพราะผมก็ไม่การันตีว่าทำตามวิธีนี้แล้วจะ หายขาด 100%

ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายคนกระจ่างขึ้นนะครับว่าไอ้เจ้า หัว VR ที่เค้าว่ากันมันอยู่ตรงไหน ถ้าจำไม่ผิดหนังสือคอมบางเล่มก็ เคยลงเรื่องปรับหัง VR นี้บ้างเหมือนกัน แต่ไม่ได้ลงรูปไว้ด้วย หรือใครที่เคยแต่ได้ยินเค้าพูดกันแต่ตัวเองหาไม่เจอหรือไม่แน่ใจ ก็คงเอาไปทำตามได้ไม่ยาก

วิธีตรวจซ่อม เม้าส์

<วิธีตรวจซ่อม เม้าส์ >


กรณีเม้าส์ คริ๊ก ซ้ายไม่ใด้หรือ คริ๊ก กดแล้ว ตอบสนองไม่ค่อยดีเท่าที่ ควร เนื่องจากปุ่มซ้ายมือใช้งาน หนักเกินไป  มาดูการแก้ปัญหากันครับ
  
อุปกรณที่ต้องเตียมใว้  (ของ3 อย่างนี้ราคารวมๆประมาณ140บาทแต่สามารถทำให้เม้าส์ที่เสียๆใช้ใด้ต่อไปอย่างน้อยก็5-6เดือนเลยนะครับ)

-หัวแร้ง
-ลวดเชื่อม(ตะกั่ว)
-ไขควงสี่แฉกอัน เล็กๆ

เริ่มกันเลยนะครับ
-ถอดน็อตใต้เม้าออก แล้ว เปิด ตัวเม้าส์ออก จาก กัน
-ถอดออกให้หมด เอามาแค่แผ่นวงจรและอย่าลืมดึงลูกกลิ้งเม้าส์ออกด้วยนะครับ(งัดขึ้น+ดึงออกใด้เลยง่ายๆ)
-เราจะ ถอด ถานกดที่เป็นสี่เหลี่ยมอันเล็กๆ ถอด 2จุดนะครับ  1.ถอดตรงใต้ลูกกลิ้ง 2.ถอดตัวซ้ายมือ
-การถอด...เอาหัวแร้งจี้ด้านล้าง จี้ที่ตะกั่วให้มันละลายแล้วดึงแท่นนี้ออกมาครับ
-เอาแท่นที่ ใด้2อัน มาสลับกันครับแล้วใส่กลับเข้าที่เดิม
-(ร้านเน็ตปุ่มใต้ลูกกลิ้งไม่จำเป็นต้องใช้มากเท่ากับปุ่มซ้ายมือเพราะฉนั้นจึงเอามาเปลี่ยนกัน)
การซ่อมแบบนี้ ทำให้เม้าส์เหมือนใหม่ใช้ใด้อีกหลายเดือนเลยครับ  ซึ่งน่าจะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายในร้านใด้ไม่มากก็น้อย

CPU

CPU
 
ปกติแล้วซีพยูเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมาก หากคุณใช้งานตามปกติ ( บางทีก่อนที่มันจะเสียคุณอาจอัพเกรดหรื่อเปลี่ยนเครื่องใหม่ไปก่อนแล้วเสียอีก ) อย่างไรก็ตามในตอนเลือกซื้อคอมพ์ประกอบกันตามร้าน หรือแม้แต่ประกอบด้วยตนเองก็ตาม ตวรตรวจสอบให้ดี เพราะไม่แน่ว่าสาเหตุที่ซีพียูมีปัญหา ( ทั้งที่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ) อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ติดตั้งมันลงไปบนเมนบอร์ดนี่เอง เนื่องจากการใช้แรงกด กระแทก และขาดความระมัดระวังสามารถทำให้ขาตัวซีพีอยู่เกิดการหัก งอ หรือมีมุมบิ่นเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งได้
การติดตั้ง Heat sink ที่ไม่แนบสนิทกับตัวซีพียู มีการทาซีลิโคนไม่ทั่วถึงหรือน้อยเกินไป จะทำให้การระบายความร้อนจากซีพียูทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดความร้อนสะสมและลุกใหม้ขึ้นมาในที่สุดทั้่วนี้รวมไปถึงการทำโอเวอร์คล็อกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ซีพียูสามารถทำงานบนความเร็วสูงเกินกว่าสเป็กของมันตามที่ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ แม่จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกเล็กน้อย แต่ต้องแลกด้วยอายุการใช้งานที่สั้นลง
หากซีพียู่ของคุณเกิดอาการผิดปกติจากสาเหตุทั้งสองที่ว่ามานี้คงต้องทำใจนะครับ เพราะมั่นใจได้เลยว่าไม่สามารถนำไปเครมประกันได้แน่นอน ยกเว้นว่าซีพียูตัวนั้นจะได้รับการโอเวอร์คล็อกมาจากโรงงานหรือผู้ผลิตและได้รับประกันประสิทธิภาพ -อายุการใช้งานเอาไว้แล้ว ดังนั้นให้คุณทำติดตั้งตัวซีพียูและ Heat sink อย่างใจเย็น ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือเมนบอร์ดอย่างคร่งครัด และที่สำคัญจะต้องไม่โอเวอร์คล็อกอย่างเด็ดขาด ( ถ้ายังไม่อยากให้ประกันหมดอายุ )
อีกสาเหตุที่บั่นทอนอายุซีพียูก็คือ พัดลมระบายอากาศ ( Ventilation Fan ) ที่ติดตั้งอยู่บนส่วนต่างๆ ในเคสของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานทีความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขได้ หรือแม้ว่าในบางกรณีมันจะยังพอใช้งานได้บ้าง แต่ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์พังเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา เช่น คอร์ซีพีอยูใหม้ เมนบอร์ดเสีย ไฟซ็อต ไฟใหม้ เป็นต้น ทีนี้แทนที่จะต้องเปลี่ยนแค่ซีพียู อาจต้องเสียเงินถอยหลังเครื่องใหม่กันเลยที่เดียว

สรุปแล้วการดูแลรักษาซีพียูที่ดีที่สุดก็คือ ระมัดระวังอย่าสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับบอดี้ของมันนั้นเอง ในการทำความสะอาดฝุ่นผงที่ติดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดทุกชนิดสัมผัสโดยตรง ถ้ามีฝุ่นจับหนาแน่นแนะนำให้ใช้พัดลมหรือเปล่าที่เป่าลมใส่ตามซอกน้อยและบนแผงวงจรให้สะอาด เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว