วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อุปกรณ์ต่อพ่วง

 
 
อุปกรณ์ต่อพ่วง

1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

               เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

    1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

                  เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ



               

Dot Matrix Printer
               

Ink-Jet Printer

    2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

                  เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

    3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

                  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ

                  หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่  300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง


               

Laser Printer
               

plotter

    4. พล็อตเตอร์ (plotter)

                  พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก

                  พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ

2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)

                  สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ    ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้

        ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
        บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์ 
        แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์ 
        เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์

       ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้    

                1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III

                 2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง 

      สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้
        SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
        ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด 
        สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR
        จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์ 
        เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์

       ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

                 -  ภาพ Single Bit   เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ - Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพ พวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต  Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ

                 -  ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น

                -   ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียด เท่าไร
 

               
Scanner

             

 

Modem

3. โมเด็ม (Modem)

               เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

               คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น

               ความสามารถของโมเด็ม    เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น

        ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต 
        ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต 
        เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
        ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
        ส่ง - รับโทรสาร 
        ตอบรับโทรศัพท์

                 ความแตกต่างของโมเด็ม

                 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)    ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ

                 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ

                 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

                4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

                5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)

                6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ซีพียู(CPU)หรือหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

 
    ซีพียูนับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่หลัก ๆ คือคำนวณและประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สั่งผ่านโปรแกรมประยุกต์หรือ Application Program ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุดคำสั่งโปรแกรมเฉพาะที่ออกแบบเขียนขึ้นเองเพื่อใช้ทำงานเฉพาะ อย่าง เช่นโปรแกรมการคิดบัญชี, โปรแกรมการเก็บประวัติพนักงาน ฯลฯ หรือชุดโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศที่ใช้งานทั่ว ๆ ไปในสำนักงานตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก,โปรแกรมเพจเมกเกอร์ที่ใช้จัด รูปแบบเอกสารเพื่อใช้ในงานสิ่งตีพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ฯลฯ โดยคำสั่งหรือข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้จะไม่ได้ถูกส่งตรงมา มาที่ตัวซีพียู หากแต่จะไปพักรอการเรียกใช้ในอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งคือหน่วยความจำหลักหรือแรม นั่นเอง


นอกจากคำสั่งหรือข้อมูลที่มาจากตัวโปรแกรม ต่าง ๆ แล้ว ซีพียูยังต้องรองรับการติดต่อสื่อสารหรือการร้องขอให้ช่วยทำงานหรือคิดคำนวณ ประมวลผลต่าง ๆ จากอุปกรณ์รอบข้างไม่ว่าจะเป็นการ์ดชนิดต่าง ๆ เช่น การ์ดแสดงผล, การ์ดเสียง ฯลฯ ที่ถูกเสียบอยู่บนExpansion Slot (ช่องเสียบการ์ดชนิดต่าง ๆ เรียวยาวมีทั้งสีดำ, ขาว, น้ำตาลวางเรียงอยู่บนแผงวงจรหลักที่เรียกว่าเมนบอร์ดนั่นเอง) หรือชิปไอซีซึ่งเป็นอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ตัวเล็ก ๆ มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาดที่กระจายอยู่ทั่วไปบนเมนบอร์ด โดยบางอุปกรณ์นั้นก็สามารถต่อตัดลัดคัวไปยังซีพียูได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน ไปที่หน่วยความจำหลักก่อนและการ
ติดต่อนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  นอกจากนั้นซีพียูยังต้องรับภาระในการควบคุมการทำงานส่วนต่าง ๆ
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นส่วนรับข้อมูล เช่นแป้นพิมพ์(Keyboard),เมาส์(Mouse) ฯลฯ, ส่วนแสดงผลเช่นจอภาพ(Monitor),เครื่องพิมพ์(Printer), สแกนเนอร์(Scaner)ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด นับว่างานของซีพียูค่อนข้างหนักหน่วงมากเลยทีเดียว และซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงก็สามารถจัดการงานทั้งหมดนี้อย่างถูกต้องและ รวดเร็วกว่า


ลักษณะของซีพียู

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็มีขั้นตอนในการทำงานที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่มีการดัดแปลงโครงสร้างในตัวซีพียูให้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ในซีพียูรุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้มีประสิทธภาพการทำงานสูงขึ้นเช่น มีการนำหน่วยความจำแคชระดับที่สองเข้าไปไว้ภายในตัวซีพียูเลยและเพิ่มความ เร็วในการทำงานสูงขึ้นเช่น มีการนำหน่วยความจำแคชระดับที่สองเข้าไปไว้ภายในตัวซีพียูเลยและเพิ่มความ เร็วในการทำงานให้เท่าเทียมกับซีพียู (หน่วยความจำแคชหรือ cache memory คือหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าหน่วยความจำหลัก หรือแรมมาก โดยจะแบ่งออกเป็นหน่วยความจำแคชระดับที่หนึ่งหรือ level 1 cache
ซึ่งอยู่ภายในตัวซีพียูกับหน่วยความจำแคชระดับที่สองหรือ level 2 cache ซี่งตำแหน่งเดิมของ level 2 cache นี้จะอยู่บนเมนบอร์ดโดยคั่นกลางระหว่างซีพียูกับแรมเพื่อใช้เก็บคำสั่งหรือ ข้อมูอต่าง ที่เคยเรียกใช้งานหรือคาดว่าจะถูกเรียกใช้งานในลำดับต่อไปโดยซีพียู เมื่อซีพียูต้องการเรียกใช้คำสั่งหรือข้อมูลนั้น ๆ ก็สามารถจะเรียกใช้ได้โดยตรงที่ level 2 cache ซึ่งจะรวดเร็วกว่าการเรียกใช้ที่หน่วยความจำหลักหรือแรมซี่งทำงานช้ากว่า และอยู่ห่างไกลจากตัวซีพียูมากกว่า) นอกจากนั้นก็ยังเพิ่มความละเอียดของลายวงจรภายในชิปซีพียูให้มีขนาดเล็กและ อยู่ใกล้กันมากขึ้น ซึ่งความละเอียดนี้วัดกันเป็นหน่วยที่เรียกว่าไมครอน (micron) ยิ่งเล็กจะยิ่งใส่ลายวงจรนี้เข้าไปในชิปซีพียูได้มากขึ้น อันจะเป็นผลให้ซีพียูนั้นมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และมีความร้อนในการทำงานต่ำแต่ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานจะสูง ขึ้น เป็นต้น
ขั้นตอนการทำงานของซีพียูที่จะขออธิบายให้ท่านได้เข้าใจง่าย ๆ มีดังนี้

1. การนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาภายในตัวซีพีย

ภายในตัวซีพียูจะมีหน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่นำคำสั่งหรือข้อมูลเข้าเรียก ว่า pre - fetch unit เมื่อหน่วยงานนี้ได้รับคำสั่งจากซีพียูให้นำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามามันจะ เข้าไปค้นหาในหน่วยความจำแคชระดับที่สองก่อน หากเจอก็สามารถนำเข้ามาใช้ได้ทันที แต่หากไม่เจอก็จะต้องร้องขอให้หน่วยการทำงานอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า หน่วยติดต่อบัสระบบหรือ bus interface unit ช่วยทำการติดต่อร้องขอไปยังหน่วยความจำหลักหรือแรมต่อไป โดยหน่วยติดต่อบัสระบบนี้จะนำคำสั่งหรือข้อมูลนั้น ๆ รวมทั้งคำสั่งหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่คาด
ว่าจะถูกใช้ในลำดับต่อไปเข้ามาพักไว้ที่หน่วยความจำแคชระดับที่สองก่อน

2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า

หน่วย pre - fetch จะนำคำสั่งหรือข้อมูลนั้นมาเรียงไว้ในส่วนเรียงลำดับที่เรียกว่า คิว (queue) ก็เหมือนหลักการเก็บสต็อคสินค้าใน โกดัง โดยจะเรียงเก็บไว้จนกว่าจะเต็มคิวเพื่อให้ส่วนคิดคำนวณต่าง ๆ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาไม่ต้องเกิดสภาวะการรอคอยทำ
ให้การทำงานโดยรวมช้าตามไปด้วย เมื่อคิวเต็มแล้วก็จำเป็นที่หน่วย pre - fetch จะต้องทำงานได้รวดเร็วที่สุดเพื่อให้หน่วย pre – fetchสามารถนำข้อมูลเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง

3. การถอดรหัสข้อมูล 
หน่วย การทำงานอีกหน่วยหนึ่งคือหน่วยถอดรหัสหรือ decoding unit จะทำหน้าที่แปลคำสั่งหรือข้อมูลซึ่งแต่เดิมจะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณไฟฟ้าที่หน่วยทำงานอื่น ๆ ภายในซีพียูสามารถรับรู้และเข้าใจได้ จากนั้นจึงส่งคำสั่งหรือข้อมูลที่ถูกถอดรหัสนี้ไปยังหน่วยควบคุมและตรวจสอบ การทำงานของซีพียูต่อไป 

4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน
 
จะมีหน่วยควบคุมและตรวจสอบการทำงาน (control and protection test unit) ตรวจสอบคำสั่งที่ถูกถอดรหัสเรียบร้อยแล้วว่ามีความถูกต้องหรือไม่ มีการอ้างอิงการใช้หน่วยความจำประเภทใดภายนอกตัวชิปซีพียูหรือไม่ และการอ้างอิงนั้นมีความขัดแย้งกันเองหรือขัดแย้งกับอุปกรณ์อื่นใดหรือไม่ หากทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อยก็จะส่งไปยังหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ต่อไป

5. การประมวลผลเลขทศนิยม

ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะโปรแกรมประยุกต์และเกมสามมิติใหม่ ๆ ที่มีการคิดคำนวณซับซ้อนจะต้องอาศัยความสามารถในส่วนนี้อย่างมาก โดยหน่วยประมวลผลเลขทศนิยมหรือ floating point unit จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในชิปซีพียูรุ่นเก่าจะแยกหน่วยประมวลผลตัวนี้ออกมาเป็นชิปไอซีต่างหาก อีกตัวหนึ่งในชื่อว่า math - co processor นั่นเอง

6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ

หากคำสั่งหรือข้อมูลใดเป็นการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ธรรมดาหรือเป็นคำสั่ง ประเภทถูกผิดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ก็จะถูกส่งมาที่หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ (arithmetic / logic unit หรือ ALU) แทน เข้าทำนองที่ว่า ถ้าเรื่องง่าย ๆ ก็ไม่ต้องรบกวนหน่วยประมวลผลเลขทศนิยมให้วุ่นวาย เพียงแต่หน่วย ALU นี้ก็รับมือได้สบายมาก

7. การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register

Register นอกจากจะเป็นส่วนที่ถูกใช้เป็นที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจากหน่วย คำนวณต่าง ๆ แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนกระดาษทดในการคิดคำนวณและเก็บข้อมูลและคำสั่งบางส่วน ที่สำคัญและจำเป็นในการใช้งานอีกด้วย

8. การอ่านค่าผลลัพธ์นั้นไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหลักหรือแรมเพื่อรอการแสดงผล

หน่วยติดต่อระบบบัสหรือ Bus Interface Unit จะทำหน้าที่ขนย้ายผลลัพธ์ใน Register ออกไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมเพื่อรอให้หน่วยควบคุมการแสดงผลบน การ์ดแสดงผล (display adapter) เรียกใช้ผลลัพธ์นั้นในการประมวลผลเพื่อให้เกิดการแสดงผลบนหน้าจอภาพต่อไป


ชนิดของซีพียู
ถ้าแบ่งกันตามชนิดของตัวถังหรือแพ็คเกจที่บรรจุซีพียูอยู่ภายในตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแล้วพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ

1. ซีพียูที่บรรจุอยู่ในแพ็คเกจพลาสติกหรือเซรามิครูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ซีพียูแบบนี้จะฝังอยู่ในแพ็คเกจที่บรรจุซีพียูซึ่งมีรูปร่างลักษณะเป็นสี่ เหลี่ยมจัตุรัสทำด้วยพลาสติกหรือเซรามิค ด้านใต้ของแพ็คเกจนี้มีขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายร้อยขา (จำนวนขาของซีพียูแต่ละรุ่นจะมีจำนวนไม่เท่ากัน) เพื่อใช้เสียบลงไปในฐานติดตั้งซีพียูหรือซ็อคเก็ต (socket) บนเมนบอร์ด ที่ทีลักษณะเป็นฐานสีขาวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่กว่าแพ็คเกจซีพียูเล็ก น้อย บนตัวฐานนี้จะถูกเจาะเป็นรูเล็ก ๆ มากมายโดยตำแหน่งของรูเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับตำแหน่งขาของแพ็คเกจ ซีพียูทำให้สามารถเสียบเข้ากันได้พอดี ซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมโครงสร้างแบบนี้มีอยู่หลายรุ่นด้วยกันตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันคือ
- ซีพียูของบริษัทอินเทลในรุ่น 8088, 8086, 80283, 80386DX , 80386SX , 80486DX , 80486SX , Pentium, Pentium
MMX , Pentium Pro, Pentium Celeron บางรุ่น, Pentium III บางรุ่น
- ซีพียูของบรีษัท เอเอ็มดี ในรุ่น 286, 386SXL , 386DXL , 486DX , K5, K6, K6 - 2, K6 - 3
- ซีพียูของบริษัท ไซริกซ์ ในรุ่น 486SLC, 486DLC, 5X86, 6X86 ( M I ), 6X86MX , M II
- ซ๊พียูของบริษัท Centaur ในรุ่น Winchip C6, Winchip - 2, Winchip - 2A , Winchip - 3, Winchip - 4
- ซีพียูของบริษัท VIA ซึ่งได้เข้าซื้อกิจการของไซริกซ์และ Centaur ไว้เรียบร้อยแล้วในรุ่น Cyrix III (หรือชื่อที่ใช้เรียกในขั้นตอนการ
พัฒนาซีพียูคือ Joshus)อาจกล่าวได้ว่ามากกว่า 80% ของสถาปัตยกรรมซีพียูตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจะถูกพัฒนามาในรูปแบบนี้ เนื่องจากมีต้นลงทุนการผลิตต่ำและสามารถใชงานร่วมกันได้กับเมนบอร์ดและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว บริษัทผู้ผลิตซีพียูก็ไม่ต้องทุ่มเงิน
ค้นคว้าวิจัยสร้างซีพียูรูปแบบใหม่ ๆ บริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ด (แผงวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ๋ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ติดต่อซีพียู, แรม,การ์ดเพิ่มขยายต่าง ๆ และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ดิสก์ไดรฟ์ต่าง ๆ) และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการผลิตเมนบอร์ดและอุปกรณ์เพื่อรองรับซีพียูแบบใหม่ ทางด้านผู้ใช้ก็สามารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนไปใช้ซีพียรุ่นสูงกว่าได้โดยยังใช้ เมนบอร์ดและอุปกรณ์ชุดเดิมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายนับว่าเป็นผลดีด้วยกันทุก ฝ่าย

2. ซีพียูที่บรรจุอยู่ในแพ็คเกจพลาสติกสีดำรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่

ซีพียูในสถาปัตยกรรมการผลิตแบบนี้จะมองเห็นได้ง่ายและชัดเจนกว่า เนื่องจากแพ็คเกจบรรจุพลาสติกสีดำที่ใช้ห่อหุ้มแผงวงจรอีเล็กทรอนิกส์ที่มี ชิปซีพียูติดตั้งอยู่นั้น มีขนาดใหญ่มากหากเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ บนเมนบอร์ด แผงวงจรอีเล็กทรอนิกส์มีลักษณะคล้าย ๆ กับการ์ดเพิ่มขยายต่าง ๆ แต่มีจำนวนชิปไอซีใหญ่ ๆ อยู่บนตัวมันเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น (โดยมากจะเป็นชิปไอซีหน่วยความจำแคชระดับสองและชิปไอซีที่มีตัวซีพียูอยู่ ข้างในอีกชั่นหนึ่ง) ด้านล่างของแผงวงจรนี้ก็จะมีลักษณะเป็นขาสัญญาณเหมือนกับด้านล่างของการ์ด เพิ่มขยายต่าง ๆ เพื่อนำไปเสียบเข้ากับสล็อตติดตั้งซีพียูที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเรียกว่า สล็อตวัน (slot 1) บนตัวเมนบอร์ดซีพียูในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นซีพียูรุ่นใหม่ ๆ ที่เพิ่งถูกผลิตออกมาโดยคาดหวังว่าสถาปัตยกรรมการผลิตแบบใหม่นี้จะช่วยเร่ง ประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูให้สูงขึ้นกว่าซีพียูรุ่นเดิมๆแต่แน่นอนว่าต้น ทุนการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ราคาของชิปซีพียูสูงมากขึ้นจนดูเหมือน ว่าอนาคตของซีพียูแบบสล็อตวันนี้จะไม่สดใสเท่าใดนัก ซีพียูในรูปแบบนี้มีอยู่ไม่กี่รุ่นเท่านั้น ดังนี้
- ซีพียูของบริษัท อินเทลในรุ่น Pentium Celeron บางรุ่น, Pentium II , Pentium III บางรุ่น
- ซีพียูของบริษัท เอเอ็มดีในรุ่น K7 (Athlon)

ซ็อคเก็ตหรือสล็อตที่ใช้ติดตั้งซีพียู
 
แน่นอนเราจะนำซีพียูไปวางลอย ๆ อยู่บนเมนบอร์ดมันก็คงจะไม่สามารถทำงานได้ จำเป็นจะต้องมีส่วนรองรับหรือฐานที่จะทำการติดตั้งซีพียูทั้งแบบ Socket และแบบ Slot ลงไปโดยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามชนิดของซีพียูดังนี้

1. ฐานการติดตั้งซีพียูที่เป็นแบบซ็อคเก็ต

ลักษณะ ของฐานการติดตั้งแบบนี้ได้อ้างถึงในหัวข้อ " ซีพียูที่บรรจุอยู่ในแพ็คเกจพลาสติกหรือเซรามิครูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส " ข้างต้นแล้ว เนื่องจากซีพียูที่บรรจุอยู่ในแพ็คเกจเซรามิคหรือซ็อคเก็ตนั้นมีมากมายหลาย รุ่น หน้าตาก็คล้าย ๆ กันจนดูสับสน แต่สิ่งหนึ่งที่จะแยกแยะซีพียูเหล่านั้นให้ชัดเจนขึ้นก็คือ สถาปัตยกรรมของตัวฐานการติดตั้งซีพียูหรือซ็อคเก็ต โดยเรียกเรียงลำดับเป็นหมายเลขตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้
- Socket 1 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 169 ขา (Pins) ได้แก่ ซีพียูของบริษัทอินเทลในรุ่น 80486SX , 80486DX , 80486DX2 , 80486DX4 Overdrive (ชิปโอเวอร์ไดรฟ์นี้เป็นการคิดค้นโดยบริษัท อินเทลเพื่อให้ผู้ใช้นำไปอัพเกรดซีพียูรุ่นเดิมของตนเองได้ทันทีโดยไม่ต้อง เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากประสิทธภาพที่เพิ่มขึ้นนั้นมีน้อยมากไม่คุ้ม กับเงินที่จ่ายไป)
- Socket 2 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 238 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น 80486SX , 80486DX , 80486DX2 ,80486DX4 OverDrive, 486 Pentium OverDrive
- Socket 3 ใช้ติดตั้งซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 237 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น 80486SX , 80486DX , 80486DX4 ,486 Pentium OverDriveจะเห็นว่าซ็อคเก็ตทั้งสามรูปแบบนั้นรองรับซีพียูในรุ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน แสดงว่าซีพียูในรุ่นเหล่านี้มีการผลิตออกมาด้วยจำนวนขาสัญญาณที่แตกต่างกัน ออกไปแต่ใช้เทคโนโลยีแกนหลักในการผลอตเดียวกัน
- Socket 4 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 273 ขา ได้แก่ ซีพียูอขงอินเทลในรุ่น Pentium 60 / 66 (ซีพียูเพนเทียมที่ทำงานด้วยความเร็ว 60 และ 66 เม็กกะเฮิรตซ์) , Pentium 60 / 66 OverDrive
- Socket 5 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 320 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น Pentium 75 - 133 , Pentium 75 + OverDrive ; ซีพียูของบริษัทเอเอ็มดีในรุ่น K5 , K6 , K6 - 2 ; ซีพียูของบริษัท ไซริกซ์ในรุ่น 6X86 ( M I )
- Socket 6 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 235 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น 80486DX4 , 486 Pentium OverDrive
- Socket 7 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 321 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น Pentium 75 - 300 , Pentium 75 +
OverDrive , Pentium MMX ทุกรุ่น ; ซีพียูของบริษัท เอเอ็มดีในรุ่น K5 , K6 , K6 - 2 , K6 - 3 ; ซีพียูของบริษัท ไซริกซ์ในรุ่น 6X86( M I ) , 6x86MX , M II
- Socket 8 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 387 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น PentiumPro
- Socket 370 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีจำนวนขาสัญญาณ 370 ขา ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น Pentium III ที่มีรหัสในการพัฒนาว่าCoppermine บางรุ่นและซีพียู บางรุ่น

2. ฐานการติดตั้งซีพียูที่เป็นแบบสล็อต

ฐานการติดตั้งซีพียูแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับสล็อตที่ใช้เสียบการ์ดเพิ่ม ขยายต่าง ๆ (การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ , การ์ดเสียง ฯลฯ)แต่จะแตกต่างกันที่ตัวสล็อตจะมีสีน้ำตาลและมีจำนวนขาสัญญาณมากกว่า โดยแบ่งออกได้เป็นสามแบบดังนี้
- Slot 1 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีขาสัญญาณจำนวน 242 ขา ( 2 แถว) ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่น Pentium Celeron บางรุ่น ,Pentium II , Pentium III ที่มีรหัสในการพัฒนาว่า Katmai , Pentium III ที่มีรหัสในการพัฒนาว่า Coppermine บางรุ่น
- Slot 2 ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีขาสัญญาณจำนวน 330 ขา ( 2 แถว) ได้แก่ ซีพียูของอินเทลในรุ่นPentium II และ Pentium III ที่มีรหัสในการพัฒนาคือ Xeon (นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องหลักใน ระบบเน็ตเวิร์คหรือที่เรียกว่าเครื่อง Server)
- Slot A ใช้ติดตั้งกับซีพียูที่มีขาสัญญาณจำนวน 242 ขา ( 2 แถว) เช่นเดียวกับ Slot 1 แต่ใช้ได้เฉพาะกับซีพียูของบริษัทเอเอ็มดีในรุ่น K7 หรือที่ใช้รหัสในการพัฒนาว่า Athlon เท่านั้นในอนาคตอันใกล้ก็จะมีฐานการติดตั้งแบบสล็อตเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 1 แบบ คือแบบ Slot M ซึ่งจะใช้ติดตั้งซีพียูรุ่นใหม่ของอินเทลใน
ชื่อรหัสพัฒนาคือ Itanium

เมนบอร์ด (Mainboard)

เมนบอร์ด (Mainboard)
 
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มี ความสวยงาม

มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู



ซ็อก เก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย

2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง

1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก

3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน

4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s

5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ

6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP

ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI

ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์

ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต

ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ

-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ

7.หัวต่อ SATA

ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย

8.หัวต่อแบบ IDE

ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM

9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ


ที่ ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว

10.ซ็อกเก็ตแรม


โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel

11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม

ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน

12.ตัวต่อ USB

ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

การ์ดจอ (Graphic Card)


 จอภาพ

 

            เมื่อกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มักจะ นึกถึงสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Mainboard, RAM, VGA และอุปกรณ์ภายในต่างๆ ซึ่งมองดูว่ามีความสำคัญและเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ เป็นอย่างดี แต่ถ้าเราจะดูถึงสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ นั้นก็คือ จอแสดงผลของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง เพราะตลอดการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกๆ เครื่อง จำเป็นต้องจ้องมองที่หน้าจออยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากว่าการทำงานส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้อง อาศัยการแสดงผลในรูปแบบ ของกราฟิกอินเทอร์เฟส (Graphic Interface) ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และสามารถที่จะทำการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) กับผู้ใช้งาน (User) ได้โดยตรง ซึ่งการ แสดงผลแบบนี้นิยมใช้งานกันเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับระบบปฏิบัติ การต่างๆ (OS = Operating System) และโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมายตาม ท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้การแสดงผลแบบนี้ทั้งนั้น ซึ่งผู้ที่ต้องการที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นควร ที่จะคำนึงถึงความเหมาะสมกับการใช้งานจอ คอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด เพราะที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าจอนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องติดต่อหรือใช้งานโดย ตรงจึงมีผล ทำให้มีผลกระทบกับร่างกายของผู้ใช้งานโดย ตรง ซึ่งผู้ที่จะเลือกซื้อก็ควรที่จะพิจารณาถึงข้อนี้มากๆ


ประเภทของ จอคอมพิวเตอร์

สำหรับจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายแบบถ้าจะกล่าว ถึงตามลักษณะการทำงานกันจริงๆ ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทก็คือ จอแบบที่ใช้หลอดภาพในการแสดงผล หรือที่เรียกกันว่า Monitor หรือ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ส่วนอีกประเภทนั้นก็คือ จอแบบที่ใช้การเรืองแสงของผลึกที่เรียกว่าจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในส่วนของจอมอนิเตอร์นั้นก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทนั้นก็คือ จอธรรมดา หรือจอแบบ Shadow Mask ซึ่งจะมีลักษณะของหน้าจอที่โค้งเล็กน้อย ส่วนอีกประเภทคือ จอแบน หรือจอแบบ Trinitron ซึ่งจอแบบนี้จะมีหน้าจอที่แบนเรียบเป็นแนวตรง ซึ่งตามผู้ ผลิตจะเรียกเทคโนโลยีนี้แตกต่างกันออกไป และจะมีการทำงานหรือส่วนเพิ่มเติมที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
การทำงานของ จอภาพ ในแบบต่างๆ
เพื่อเป็นการที่เราจะสามารถพิจารณาเพื่อจะเลือกซื้อจอของเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้นั้นเราจำเป็นต้อง รู้จักพื้นฐานการทำงานของจอแต่ละแบบกันก่อนซึ่ง การทำงานนั้นจะแบบเป็น 2 ประเภทเป็นหลักนั้นก็คือ แบบที่ใช้หลอดภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับผลึก LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งการทำงานต่างๆ จะมีดังนี้


สำหรับจอคอมพิวเตอร์แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้น ย่อมาจาก Cathode Ray Tube

ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกัน ว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย


จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) หรือ Liquid Crystal Display

การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์  แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์  มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT Monitor อยู่ มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD Monitor นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน